วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้เขียน            นางสาวกัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์
ปริญญา          ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่องการค้นคว้าแบบอิสระ       การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Construction of Picture Book for Preparing Mathematics Readiness of Preschoolers
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่      นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 18 คน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย หลังการใช้หนังสือภาพ และศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
          ประกอบด้วย หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังใช้หนังสือภาพ จำนวน 10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพจำนวน 1 ชุด

ผลการศึกษาพบว่า
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จำนวน 18 คน อยู่ในระดับ มาก ในทุกด้าน

สรุปได้ว่า
หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นหนังสือภาพที่จัดทำขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยประสบการณ์และสิ่งที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวัน ในการส่งเสริมความคิดรวบยอด และความเข้าใจที่คงทน ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองและมีความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น