วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 3
วันศุกร์  ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
Ø วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์แจกกระดาษให้แบ่งคนละครึ่ง จากนั้นก็บอกให้เขียนชื่อเรา แล้วอาจารย์ก็บอกให้พวกเราไปติดชื่อในตางรางรายชื่อนักเรียนที่เขียนว่ามา การเช็คชื่อมาเรียนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆเป็นชีวิตประจำวัน เด็กจะได้ทักษะดังนี้
            การนับ เด็กบอกคำได้
            บอกจำนวนได้
            ใช้ตัวเลขในการบอกวันที่
            การแยกกลุ่ม
            การจัดลำดับคนมาเช้าและมีเลขลำดับ


Ø เพื่อนๆจำนวน 3 คน นำเสนอบทความคณิตศาสตร์ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 


Ø กิจกรรมร้องเพลงคณิตศาสตร์ ได้แก่ เพลงสวัสดียามเช้า  เพลงสวัสดีคุณครู เพลงหนึ่งปีมีเพลงสิบสองเดือน เพลงเข้าแถว  เพลงซ้ายขวา เพลงจัดแถว เพลงขวดห้าใบ 


Ø เรียนทฤษฎีเรื่องสาระคณิตศาสตร์

ทักษะ/การระดมความคิด
Ø กิจกรรมเขียนตารางสมาชิกของห้อง เสริมทักษะการลบจำนวน  การเขียนเลขฮินดูอารบิก การเปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่า มากกว่า


Ø เพลง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ จำนวนนับ ทิศทาง ตำแหน่ง

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
ช่วงเช้าวันนี้ไฟดับ ต้องเปิดหน้าต่างเรียน แต่สักพักไฟมา อากาศเย็นมาก 

การจัดการเรียนการสอน
มีการตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาตลอดทั้งคาบค่ะ 


วิเคราะห์ตนเอง

ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกเพิ่มเมื่ออาจารย์อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ตอบคำถามหรือไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์เพื่อให้เข้าใจ


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน 
ครั้งที่ 2
วันศุกร์  ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
·       ก่อนเรียนอาจารย์ให้นักศึกษา Link บล็อกของนักศึกษาลงในบล็อกของอาจารย์
·       อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษา โดยส่งให้นักศึกษาคนแรกและการแจกกระดาษของนักศึกษาจะเป็นแบบหยิบเผื่อเพื่อนแถวเดียวกันและส่งต่อแถวถัดไป อาจารย์สั่งหยุดการแจกกระดาษ เรียกคืนมาแล้วเริ่มแจกใหม่แบบ 1:1 และอาจารย์จึงตั้งคำถามว่าทำไมอาจารย์ถึงให้แจกกระดาษแบบ 1:1 เพราะอะไรเราจึงต้องทำแบบนี้
·       ทำแผนความคิดเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีหัวข้อใหญ่ๆดังนี้

1.                        การจัดประสบการณ์

2.                        คณิตศาสตร์

3.                        เด็กปฐมวัย


ทักษะ/การระดมความคิด
·       อาจารย์ตั้งคำถามว่าทำไมอาจารย์ถึงให้แจกกระดาษแบบ 1:1 เพราะอะไรเราจึงต้องทำแบบนี้ นักศึกษาต่างตอบตามความเข้าใจของตนเอง  เช่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้การบวก การลบของจำนวนกระดาษ
·       นักศึกษาช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และอาจารย์ได้อธิบายถึงการแจกกระดาษแบบ 1:1 ว่าเพื่อให้เด็กทราบว่า กระดาษมากกว่าคน หรือคนมากกว่ากระดาษ และมีการแก้ปัญหาว่าถ้าคนมากกว่ากระดาษจะต้องทำเช่นไร เมื่อกระดาษไม่พอต้องนับคนที่ยังไม่ได้กระดาษว่าขาดอีกกี่แผ่น และมีอีกหลากหลายแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กให้เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันได้

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
·       อากาศเย็นสบาย ค่อนข้างหนาว ห้องเรียนสะอาดแต่ว่าประตูห้องปิดไม่สนิท อ้านิดๆ แสดงแดดข้างนอกแรง เพื่อนๆมาเรียนแบบมีความสุข

 การจัดการเรียนการสอน
·       อาจารย์สอดแทรกความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงอยู่ในบทเรียนที่เรียนเสมอ
·       อธิบายการทำแผนความคิดได้ระเอียด เป็นระเบียบ แนะนำการทำแผนความคิดที่ถูกต้องให้นักศึกษา (หัวข้อควรเขียนไปตามเข็มนาฬิกา)
·       วันนี้อาจารย์ดูเหนื่อย เนื่องจากลงไปร่วมกิจกรรมวันครูที่คณะจัดขึ้นเนื่องในวันครู 16 มกราคม 2559

วิเคราะห์ตนเอง
·       ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายความหมายของการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และเด็กปฐมวัย
·       ทำความเข้าใจกับการแจกกระดาษแบบ 1:1 และจดบันทึก
·       ไม่เครียด มีความสุขและตอบคำถามที่อาจารย์ตั้งคำถาม


สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ (เรื่องที่นำเสนอ)

รายการ ครูมืออาชีพ     
ตอน Making Maths Real สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา ตอน
ดำเนินรายการโดย นายเชษฐวุฒิ  วัชรคุณ (บ๊วย)
ตัวอย่างการสอนที่รายการนำมาถ่ายทอดให้ชมเป็นตัวอย่างการสอนของประเทศอังกฤษ
          ตัวอย่างการสอนในโรงเรียนแห่งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1.ระดับปฐมวัย
2.ระดับประถมศึกษา    
3.ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

1.ระดับปฐมวัย (Lisa Johnson อาจารย์ระดับชั้นปฐมวัย)
สรุปแนวการสอน
Ø ครูค้นหาว่าเด็กสนใจอะไร และวางแผนในการจัดกิจกรรมเด็กจะมีความสุขเมื่อมีสิ่งที่ชอบอยู่ในการเรียนรู้
Ø ก่อนเรียนทุกครั้งจะทำการอบอุ่นร่างกาย มีการกระตุ้นก่อนเพื่อให้ครูทราบว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนหรือไม่
Ø ครูประดิษฐ์สัญลักษณ์/เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์โดยการใช้ร่างกายในการทำสัญลักษณ์               เช่น เครื่องหมายเท่ากับ (=) จะให้เด็กยกแขนทั้งสองข้าง ข้างใดข้างหนึ่งอยู่ด้านบน ตั้งขนานกับแขนด้านล่าง
Ø ครูต้องมั่นใจในการสอน สอนให้สนุกสนาน
Ø มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยจัดให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.ระดับประถมศึกษา (Jayne Allen อาจารย์ระดับชั้นประถามศึกษา)    
สรุปแนวการสอน
Ø การทำบทเรียนต้องสนุกสนาน
Ø สอดแทรกการแสดงลงในบทเรียน
Ø เด็กสร้างท่าทาง และจังหวะของตนเอง
Ø สอนให้เด็กเข้าใจเจตนาในการศึกษา เด็กออกไปในสังคมจะรู้ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
Ø กิจกรรมจำลองห้องเรียนให้เป็นร้านอาหาร มีการใช้ตัวเลข 1-10 ในชีวิตจริง
Ø เน้นให้เด็กมีความสุขกับสิ่งที่ทำ
3.ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (Elaine Mousley อาจารย์ระดับชั้นประถามศึกษาตอนปลาย)
สรุปแนวการสอน
Ø ตั้งกลุ่มเสริมสร้างความมั่นใจ คลับเพชรสีชมพู คัดเด็กที่มีความต้องการ เด็กที่กลัววิชาคณิตศาสตร์หรือเด็กที่ไม่สนใจมาเรียนและแนวการสอนคือการสอนก่อนการเริ่มต้นบทเรียนในห้องเรียน
Ø ให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตจริงเป็นฉากหลัง เด็กจะเรียนรู้ได้มากขึ้น

อาจารย์พูลศักดิ์ เทศนิยม อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์                                                     กล่าวท้ายรายการว่าการสอนในโรงเรียนนี้ถือว่าสมบูรณ์มาก สอนโดยใช้ภาษาร่างกาย และที่ประทับใจที่สุดคือการสอนของอาจารย์ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่จัดกลุ่มเด็กในทางบวก ไม่ใช่ว่าจัดการสอนพิเศษหลังเลิกเรียน หรือเป็นกลุ่มเด็กสอบตก ที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างการเรียนคณิตศาสตร์ให้เด็ก

สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้เขียน            นางสาวกัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์
ปริญญา          ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่องการค้นคว้าแบบอิสระ       การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Construction of Picture Book for Preparing Mathematics Readiness of Preschoolers
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่      นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 18 คน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย หลังการใช้หนังสือภาพ และศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
          ประกอบด้วย หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังใช้หนังสือภาพ จำนวน 10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพจำนวน 1 ชุด

ผลการศึกษาพบว่า
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9 สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จำนวน 18 คน อยู่ในระดับ มาก ในทุกด้าน

สรุปได้ว่า
หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นหนังสือภาพที่จัดทำขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยประสบการณ์และสิ่งที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวัน ในการส่งเสริมความคิดรวบยอด และความเข้าใจที่คงทน ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองและมีความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไป

สรุปบทความที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

ชื่อบทความ  สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลกับการสอนคณิตศาสตร์ให้กับลูก เพราะคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่สอนยาก แต่หารู้ไม่ว่าคณิตศาสตร์มันครอบคลุมเกือบทุกเรื่องในชีวิตของเรา และเราสามารถสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกได้จากสิ่งรอบตัว และในบทความนี้จะมีวิธีการสอนคณิตศาสตร์มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายด้วยค่ะ

Ø สอนตัวเลข 
                พ่อแม่เกือบทุกคนจะเริ่มต้นสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกด้วยการท่อง 1 2 3...10 การให้ลูกสามารถเข้าใจตัวเลข ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนค่ากับจำนวนที่แท้จริงได้นั้น ทำได้ไม่ยาก   นั่นคือ...
- ชวนลูกนับสิ่งของรอบตัว 
- บวกลบตัวเลขใกล้ตัว 
Ø สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่ 
                ให้ลูกรู้จักขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่/สั้น-ยาว โดยการเรียงของที่ขนาดแตกต่างกันให้ลูกดู  (รองเท้าพ่อใหญ่กว่ารองเท้าลูก/ แม่สูงกว่าลูก  เป็นต้น)
                จากนั้นสอนการเปรียบเทียบ เช่น... จำนวนมากกว่า น้อยกว่า และเท่ากัน สอนเรื่องการจัดหมวดหมู่สิ่งของ เช่น ผัก ผลไม้ ของเล่น เครื่องเขียน เครื่องดนตรี เป็นต้น
Ø สอนรูปทรงต่างๆ
ของเล่นที่สอนเรื่องรูปทรงเราขาคณิตได้ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือบล็อกไม้ที่มาหลากหลายรูปทรงให้ลูกได้เรียนรู้ ทั้งทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  ฯลฯ รวมทั้งสีสัน ขนาด ฯลฯ นอกจากนี้ เรายังสามารถสอนรูปทรงได้จากของเล่นและของใกล้ตัวอื่นๆ  เช่น ลูกบอล จาน แก้วน้ำ โต๊ะ หรือจากรูปภาพในหนังสือ หรือคุณพ่อคุณแม่วาดขึ้นมาเอง เป็นต้น
Ø สอนเรื่องตำแหน่ง ซ้าย-ขวา
                เล่นกิจกรรมทำตามคำสั่งกับลูก  เช่น หยิบหนังสือบนโต๊ะไปวางไว้บนชั้นหนังสือ  เอาตุ๊กตาหมีไปวางไว้ใต้เก้าอี้คุณพ่อ ให้ลูกเอาหมวกของลูกไปแขวนไว้ที่ตะขอหน้าตู้เสื้อผ้า  เป็นต้น  หรือขณะกินข้าวก็บอกว่า "แม่วางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือของหนู"   "หนูจับช้อนด้วยมือขวา จับส้อมด้วยมือซ้าย"   เป็นต้น
Ø สอนเรื่องเวลา  
                การสอนเรื่องเวลาทำได้หลากหลาย เช่น การบอกลูกให้ทำสิ่งต่างๆ ก่อน-หลัง เช่น "กินนมให้หมดแก้วก่อนแล้วค่อยไปดูทีวี"  "อาบน้ำเสร็จแล้วมาอ่านหนังสือนิทานกันนะ"  ลูกจะเข้าใจและรู้ว่าเขาจะทำสิ่งใดก่อน-หลังตามลำดับได้
                การสอนเรื่องชั่วโมง เวลา นาที ก็เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์ เช่น แม่จะขับรถไปส่งลูกตอน 7 โมงครึ่ง  ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที เราต้องถึงโรงเรียนลูกก่อน 8 .30 นาฬิกาจ๊ะ...นั่นคือพยายามพูดถึงกิจกวัตรประจำวันของเขาเชื่อมโยงกับตัวเลขชั่วโมง นาทีกับลูกบ่อยๆ พร้อมใช้ประโยชน์จากนาฬิกา ซึ่งเต็มไปด้วยตัวเลขให้มากที่สุด 
Ø สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน 
                เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์   คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกเห็นความแตกต่างของกลางวันกับกลางคืน โดยยกตัวอย่างง่ายๆ จากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น "ตอนกลางวันสว่างเพราะมีพระอาทิตย์ พอพระอาทิตย์ตกก็มืดไปหมด เรียกว่ากลางคืนพระจันทร์ก็จะขึ้นมาแทนพระอาทิตย์" เขาจะได้เห็นความแตกต่างของกลางวัน-กลางคืนได้ชัดเจนขึ้น
Ø สอนเรื่องวัน-เดือน-ปี 
                คุณพ่อคุณแม่สามารถบอกลูกให้รู้จักวันจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน (พูดไปเรื่อยๆ ทุกวันจนถึงวันหยุดอีก)
                สำหรับเรื่องเดือนนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็บอกย้ำเขาจากเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน เช่น "เดือนมกราคม วันขึ้นปีใหม่ เราแลกของขวัญ กินเค้กกันลูก" "เดือนกุมภาพันธ์ วันเกิดคุณพ่อไงล่ะ" ฯลฯ  บอกไปเรื่อยๆ ลูกจะค่อยๆ เข้าใจเรื่องเดือนได้
Ø สอนเรื่องการเพิ่ม-ลด 
                การสอนเรื่องนี้สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมสนุกๆ พร้อมชูนิ้วประกอบให้เป็นการเล่น ลูกก็จะเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน เช่น "แม่มีส้ม 5 ใบ ให้ลูกไป 3 ใบ ทายสิว่าแม่เหลือส้มกี่ใบ" เป็นต้น ลองโจทย์บวก-ลบกับลูกผ่านเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ไม่นานลูกก็บวก-ลบได้ปร๋อเชียวล่ะ  
Ø สอนการใช้เงิน
ง่ายๆ ที่สุดก็เริ่มจากให้ลูกรู้จักค่าของเงินบาท สตางค์ จากเงินในกระเป๋าของคุณนั้นแหละ

การสอนลูกให้เรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว ซึ่งสิ่งนี้เหล่านี้เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ให้เด็กๆ   เขาจะเห็นว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก หากเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น...แล้วคณิตศาสตร์ที่เป็นยาขมของพ่อแม่ก็จะกลายเป็นขนมหวานของลูกได้ไม่ยากเลย

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน 
ครั้งที่ 1
วันศุกร์  ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนบ่งบอกลักษณะเด่นของตนเอง โดยที่ไม่ต้องเขียนชื่อ และหลังจากนั้นอาจารย์จะอ่านลักษณะเด่นแล้วสังเกตว่าที่อ่านไปนั้นเป็นลักษณะเด่นของนักศึกษาคนไหน ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าการเป็นครูปฐมวัยต้องจำเด็กได้ จำชื่อ จำลักษณะของเด็กให้ได้โดยการหาจุดเด่นของเด็กแต่ละคน 
  • ในการแจกกระดาษก่อนจะทำกิจกรรม อาจารย์สั่งว่ากระดาษ 1 แผ่นให้แบ่งเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน ซึ่งหนูเป็นคนแรกที่รับกระดาษมาจากอาจารย์ หนูมีวิธีการแบ่งกระดาษคือหยิบไว้ 1 แผ่น แล้วส่งให้เพื่อนที่ถัดไป 2 คน คือแต่ละกลุ่มก็ฉีกของใครของมัน และอาจารย์ก็ตั้งคำถามว่า จะมีวิธีอื่นอีกหรือไม่ถ้าจะทำให้การแบ่งกระดาษมันง่ายขึ้น เร็วขึ้น เพื่อนก็ช่วยกันตอบคำถามและหาวิธีต่างๆมา อาจารย์จึงบอกว่าการตั้งปัญหาต้องได้รับการแก้ปัญหา ถ้าเปรียบระหว่างคนกับกระดาษตอนนี้ใครเยอะกว่ากัน (ณ ตอนนั้นกระดาษเหลือเศษ 1 แผ่น) กระดาษเหลือเยอะกว่าคน ถ้าในทางการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กสามารถสอนเรื่องอะไรให้กับเด็กได้ นั้นคือเรื่อง การบวกการลบ ระหว่างจำนวนคนและจำนวนกระดาษค่ะ
  • การแนะนำการทำ Blogger อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปสร้างบล็อกสำหรับวิชานี้ โดยแจ้งรายละเอียดที่ต้องมีในการบล็อก
  • สั่งการบ้าน (เป็นงานนำเสนอรายอาทิตย์) หนูได้นำเสนอเกี่ยวกับ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะ/การระดมความคิด
          เกิดกระบวนการคิดในการตอบปัญหาที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับเรื่องจำนวนคนและจำนวนกระดาษ และระดมความคิดเกี่ยวกับการหาวิธีในการแบ่งส่วนกระดาษ
ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
          อากาศในห้องเรียนวันนี้เย็น หนาว แต่ก็ดีกว่าอากาศร้อน วันนี้ในห้องสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้งานได้ดี
การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์มีการเตรียมการสอนเรียน การเรียนและการสนทนาไม่มีติดขัด เรียนมีความสุข อาจารย์ตั้งใจสอน เปิดโอกาสให้ถามถ้ามีปัญหาหรือไม่เข้าใจ
วิเคราะห์ตนเอง
          วันนี้เข้าใจเนื้อหาที่เรียน และสิ่งที่อาจารย์แนะนำ มีความสุขกับการเรียน ได้ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม แต่ยังไม่กล้าถามเวลาไม่เข้าใจเนื้อหาเล็กๆน้อยๆ