วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 6
วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
สำหรับการเรียนวันนี้ จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์แจกไม้เสียบลูกชิ้นให้เราไปตัดมาสามขนาด วันนี้อาจารย์แจกดินน้ำมันเพิ่ม ให้เราใช้ดินน้ำมันกับไม้เสียบลูกชิ้นทำเป็นรูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วอาจารย์ได้อธิบายการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ดังนี้
      
การวิเคราะห์โจทย์  แนวคิด
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
ลงมือทำ
ผลงาน
การประเมินผล
อุปกรณ์



ทักษะ/ระดมความคิด
-การจัดการเรียน โดยใช้ปัญหาในฐานการสอน 
การสอนแบบนี้เป็นการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ ให้เด็กลองผิดลองถูก ใช้ศิลปะสร้างสรรค์ชิ้นงาน 
วราพร นำเสนอบทความ เรียน เล่นคณิต ของชั้นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1เด็กด้อยโอกาส ใช้การร้องเพลง เล่นเกมหยิบก้อนหินตามคำที่ครูบอกในการเรียนรู้
-ธณภรณ์ นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอนของโทรทัศน์ครู การสอนคณิตศาสตร์ 
-นิตยา นำเสนอวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2551 ของนักเรียน คือชายหญิง อนุบาล 2  "เรื่องกล้วยแสนอร่อย"  ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้ 3ขั้น ได้แก่ ทบทวนความรู้ เลือกหัวข้อที่สนใจค้นคว้าวิจัยหาความรู้การประเมินผล

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อน เซค 101มาเรียนด้วย ห้องเรียนค่อยข้างหนาแน่น อากาศในห้องเรียนสบายไม่ร้อนไม่หนาว

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์อธิบายเทคนิคต่างๆ ให้ก็ช่วยให้เราคิดวิเคราะห์ เมื่ออาจารย์ถาม นักศึกษาก็ช่วยกันตอบดีค่ะ

วิเคราะห์ตนเอง
ฟังอาจารย์อธิบาย มีอะไรสงสัยก็ถามอาจารย์ และเวลาเพื่อนนำเสนองาน และจดบันทึกเพิ่มในสมุดด้วย




วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559



เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เรียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรื่อง รูปทรง การจัดประสบการณ์จัดให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กนำแผ่นกระดาษมาต่อให้เป็นรูปทรงต่างๆโดยใช้ 2 แผ่น และ 3 แผ่น สามารถเป็นรูปทรงอื่นๆได้อีกหลายรูป ก่อนที่จะให้เด็กวาดลงในกระดาษแล้วตัดออกมา รูปทรงที่ตัดออกมาจะเป็นรูปทรงเดียวกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนให้เด็กสืบเสาะ ให้เด็กได้ลงมือทำอย่างอิสระ และเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง
การจัดกิจกรรมนั้นต้องคำนึงสิ่งต่างๆดังนี้
Ø จัดกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เด็กเกิดการเรียนรู้

-วิธีการเรียนรู้ หมายถึง การให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กที่บ่งบอกว่าเด็กจะทำอะไรได้บ้างในระดับอายุ 
-การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลังจากเด็กได้รับความรู้ 
การสอนแบบ Project Approach

สามารถสอดแทรกทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

-ขั้นตอนในการสอน เป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรื่องของการเรียงลำดับ ก่อน-หลัง ว่าสิ่งใดควรทำก่อนและหลัง
-การอธิปาย เป็นการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในสาระที่ 5 ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
-การจัดการแสดง เด็กได้คณิตศาสตร์ในการจัดหมวดหมู่ของการนำเสนอ จัดพื้นที่ต่างๆและจัดกลุ่มคน
-การทำมายแมพและผลงานสามารถทรอดแทรกคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ เช่น การวาดรูปทรง การทำตารางแบ่งกลุ่ม การทำวงกลมเปรียบเทียบความเหมือน-ต่าง

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการนับจำนวน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะเรื่องรูปทรง 
-ทักษะการแก้ปัญหา

การประยุกต์ใช้ 
            จัดประสบการให้แก่เด็กได้โดยต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

การประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศดี อาจารย์สอนสนุก โต๊ะ เก้าอี้สะอาดเรียบร้อย อากาศหนาวเย็น อุปกรณ์พร้อมในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างให้เห็นภาพทำให้เข้าใจ และเน้นย้ำสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงในการจัดประสบการณ์ มีเตรียมการเรียนการสอน 

วิเคราะห์ตนเอง

ตอบคำถามมากขึ้น จดบันทึกเนื้อหา และมีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์ในการถาม-ตอบค่ะ


วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 4
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
วันนี้อาจารย์ได้เอาตัวอย่างปฏิทินมาให้ดู และช่วยกันวิเคราะห์ปฏิทินว่าเป็นสื่อช่วยส่งเสริมเรื่องใดบ้าง เรียนเกี่ยวกับตารางเวรประจำวัน ประเภทเกมการศึกษา เพลง และเพื่อนนำเสนอ บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากนั้นก็ได้นำเสนอของเล่นที่แต่ละกลุ่มเตรียมมาค่ะ

ทักษะ/ระดมความคิด
Ø ปฏิทิน ช่วยส่งเสริม การจัดหมวดหมู่ สี วัน เลขฮินดูอารบิก
Ø ได้นำเสนอของเล่น ได้รับคำแนะนำในการปรับใช้ของเล่นจากอาจารย์ 

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศดี ไม่หนาว ไม่ร้อน ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้จัดเป็นระเบียบ อุปกรณ์การสอนพร้อมสำหรับการใช้งาน 

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ก็สอนตามแผนที่อาจารย์ได้เตรียมมา บทเรียนไม่ยากมาก อาจารย์อธิบายได้อย่างละเอียด

วิเคราะห์ตนเอง

- บางคำถามที่อาจารย์ถามก็ยังคิดไม่ออกว่าต้องตอบว่าอะไร แต่พยายามคิดตามเมื่ออาจารย์อธิบาย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ใหม่ลงในสมุด





วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เรียนชดเชย
วันพุธ  ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
            วันนี้เรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเช็คเด็กมาเรียน ก่อน 7โมงและหลัง 7โมง โดยให้เด็กๆมาติดชื่อของตัวเองว่าตัวเองตื่นนอนในช่วงเวลาไหน จากกิจกรรมนี้ สรุปกระบวนการเรียนรู้ได้ว่า
Ø เด็กกับผู้ปกครองจะได้มีการพูดคุยกัน เพราะผู้ปกครองจะต้องเป็นคนบอกเด็กว่าเขาตื่นกี่โมง และอาจจะให้คุณแม่เขียนมา หรือให้เด็กวาดรูปมา แล้วก็เอามาให้คุณครูที่โรงเรียน คุณครูก็จะดำเนินกิจกรรมต่อค่ะ
Ø กิจกรรมนี้เด็กจะได้ทักษะการนับ บอกจำนวน การเขียนตัวเลข(ถ้าเด็กเล็กอาจให้เป็นบัตรตัวเลขแล้วมาติด)
Ø การจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก
Ø การลงมือปฏิบัติคือวิธีการเรียนรู้ของเด็กที่ดีที่สุด

ทักษะ/การระดมความคิด
Ø ในเกิดทักษะในการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กโดยใช้เรื่องราวในชีวิตประจำวันของเด็กให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
Ø ครูต้องสอนในสิ่งที่เด็กเคยทำหรือที่เรียกว่าประสบการณ์เดิมให้กับเด็กเพื่อการต่อยอด เพราะถ้าเด็กได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ โดยที่ครูไม่รู้เลยว่าเด็กรู้จักหรือไม่เด็กก็จะไม่เกิดการต่อยอดในการเรียนรู้ แต่ถ้าเด็กมีประสบการณ์เดิมและได้รับประสบการณ์ที่สอดคล้องในการที่จะต่อยอดความรู้เดิมให้ เด็กก็จะได้ประสบการณ์ใหม่ที่ดีมากๆ
Ø วันนี้เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถามและช่วยกันคิดและสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมว่า ถ้าเด็กได้เล่น ได้ลงมือทำแล้วเด็กจะได้อะไร
ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศเย็น เครื่องปรับอากาศทำให้หนาวมาก ความหนาวเลยเป็นอุปสรรคต่อการเรียนนิดหน่อยค่ะ แต่ก็ไม่มีผลมาก ห้องเรียนสงบ เพื่อนๆตอบคำถามได้อย่างสนุกสนาน

การจัดการเรียนการสอน
มีการตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาตลอดทั้งคาบค่ะ อาจารย์อธิบายอย่างละเอียดโดยยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมขึ้นมาทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนง่ายขึ้น


วิเคราะห์ตนเอง

ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกเพิ่มเมื่ออาจารย์อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ตอบคำถามหรือไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์เพื่อให้เข้าใจ รู้ถึงการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น